ส่วนผสมของพระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน 2497
- เป็นพระเนื้อว่าน 108
- ที่เป็นพืชสมุนไพรหลากชนิด
- ตามภูมิปัญญาของคนแถวนั้น และ
- พอหาได้จากป่าธรรมชาติแถวๆนั้น
- นำมาตากแห้ง หั่น สับ ตำให้ละเอียด
- นำมาผสมดินสีดำ
- จากถ้ำของภูเขาศักดิ์สิทธ์ ที่ลำพระยา เมืองยะลา
- ที่น่าจะเป็นดินเหนียวในถ้ำหินปูน
- ตามความเชื่อของคนแถวนั้น
- ที่เกี่ยวข้องกับความศักดิ์สิทธิ์ของถ้ำ และดินในถ้ำ
- ที่น่าจะเป็นดินที่มีความเหนียว และอมน้ำปูนจากสภาพแวดล้อมรอบถ้ำ
- เรียกตามตำนานว่า “กากยายักษ์”
- ผสมน้ำมันตังอิ้ว ตามแบบภูมิปัญญาการสร้างพระเนื้อผง เพื่อลดการปริแตก
- ผสมข้าวเหนียว
- เนื้อกล้วยป่า
- ผสมปูนขาว
- ทำให้พระรูปหลวงพ่อทวดมีความคงทนมาก
- ไม่มีการปริแตก ระเบิด หักเปราะ
- ไม่ถูกแมลงที่เรียกว่า “ตัวกินพระ” กัดกิน
มีข้อมูลว่า พิมพ์กรรมการจะออกสีดำ เพราะใช้ดินกากยายักษ์มาก ที่น่าจะเป็นพระเนื้อละเอียด แน่นหากเป็นพิมพ์ทั่วไปจะออกสีเทานวล แต่จะพบเห็นมีสีแดงนวลบ้างเข้าใจว่าเป็นเพราะผสมว่านสบู่เลือดลงไปมาก
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลว่า
- มวลสารที่ส่องจะพบเห็นเม็ดคล้ายอิฐแดงบดละเอียด ที่น่าจะเป็นแร่เหล็กตามหลักของการสร้างพระสมเด็จ ที่นำแนวคิดมาจากพระกำแพงซุ้ม จะนำมาจากไหนนั้น ข้อมูลไม่ชัดเจน อาจจะนำมาจากกำแพงเพชร หรือแหล่งแร่อื่นๆ ก็เป็นได้ แต่ในเชิงพุทธคุณ น่าจะอนุมานว่านำมาจากกำแพงเพชรมากกว่า
- และยังพบว่า มีมวลสารสีขาว ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับพระสมเด็จ ที่มีผู้สันนิษฐานว่าอาจเป็นเศษจากการสร้างพระสมเด็จหลวงปู่ภู หรือพระสมเด็จอื่นๆ หรือเป็นเนื้อปูนเปลือกหอย ที่นับถือกันว่าเป็น “ผงสมเด็จ” ก็เป็นได้
- และยังมีการผสมเม็ดแร่เหล็กสีดำเหลื่อมทอง เรียกว่า ทองน้อย หรือ ภาษาจีนว่า แร่กิมเซียว ที่ตามตำนานว่า คุณอนันต์ คณานุรักษ์ นำมาจากเหมือง ผสมเป็นมวลสาร และในบางองค์เมื่อนำออกจากแม่พิมพ์ก็จะใช้นิ้วกดเม็ดแร่กิมเซียวที่ด้านหลังองค์พระ แต่ไม่พบมากในบรรดาพิมพ์ใหญ่
จากตำนาน ได้ข้อมูลว่า
ชาวบ้านที่อาศัยข้างวัดช้างให้เวลาไปสวนยาง ขากลับจะนำว่านมาถวายวัด โดยการวางไว้ตรงบริเวณลานวัดเพื่อทำการตากแห้ง เช่น
- ว่านสบู่เลือดตัวผู้-ตัวเมีย
- ว่านกลิ้งกลางดง
- ว่านสาวหลง
- ว่านพญาว่าน
- ว่านหม้อข้าว หม้อแกงลิง(มีฝาเปิดปิดดักจับแมลง)
- ว่านหนุมานนั่งแท่น
- ว่านคางคก
- ว่านนางกวัก
- ว่านนกคุ้ม และว่านอื่นอีกมากมาย
นอกจากนี้ ตำนานกล่าวว่า พระอาจารย์ทิม จะเก็บข้าวก้นบาตรไว้ทุกวัน เพื่อที่จะนำไปส่วนผสมในการทำพระเครื่องหลวงพ่อทวด โดยการนำข้าวก้นบาตรไปตากแดดบนหลังคากุฏิ เพื่อกันไก่ เข้าไปกิน
และในพิธีขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 คือวันไหว้ครู ที่จะจัดขึ้นเป็น ประจำของทุกปี
- จะมีการนำข้าวเหนียวที่ปั้นแล้วมาปลุกเสกนั้นเป็นพิธีกรรมโบราณซึ่งมีมานานแล้ว ซึ่งข้าวเหนียวนั้นจะเป็นส่วนผสมในการสร้างหลวงพ่อทวดว่าน 2497ด้วยเช่นกัน จะนำไปตากแดดให้แห้งแล้วนำไปบดผสมกับว่าน 108
- ยังมีผลกล้วยป่าเป็นจำนวนมากเพื่อที่จะนำมาเป็นตัวประสาน
- อีกทั้ง น้ำมันตังอิ้ว และ ปูนขาว
เพื่อให้เนื้อมวลสารต่างๆรวมตัวกันและจับตัวเป็นก้อนแข็งแน่นแบบเดียวกับพระสมัยทวาราวดี และผงสุพรรณ
แต่อาจมีบางองค์ที่ร่วนซุย จากส่วนผสมในแต่ละครกแก่ว่าน ปูนน้อย จึงทำให้พระหลวงพ่อทวดเนื้อว่านรุ่นแรก เนื้อหาสาระไม่แข็งแกร่ง บางองค์แก่ดิน บางองค์แก่ว่าน บางองค์แก่ปูน
จากตำนานการสร้างพระเนื้อว่าน แบบตำมือกดมือนั้น แต่ละครกเนื้อจะมีเอกลักษณ์ของตัวเองไปเลยและในกระบวนการกดในแม่พิมพ์ตัวเมีย เกือบ 100 แม่พิมพ์ ที่ทำจากขี้ครั่งพุทรา ที่มีความเหนียวเป็นยางสีดำแดง โดยใช้แม่พิมพ์ตัวผู้หลักๆ 3 พิมพ์ และมีพิมพ์ย่อยๆอีกหลายพ่อพิมพ์ ที่มีการสร้างไม่มากนัก ที่เมื่อใช้ไปนานๆ จะเกิดรอยปริแยก หรือตำหนิใหม่ๆ ในแต่ละแม่พิมพ์
- ทำให้หลวงพ่อทวดในแม่พิมพ์เดียวกัน ก็อาจมีตำหนิอันเนื่องจากรอยแตกแยกออกมาอีกหลายแบบ ตามอายุของแม่พิมพ์ตัวเมีย
- และจะแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับส่วนผสม มวลสาร ระยะเวลา น้ำหนักในการตำผสม ระยะเวลาในการกดพิมพ์
- ความแห้ง ความเหนียว ของลูกกระสุน (เมื่อตำผสมเสร็จแล้วจะปั้นเป็นลูกกระสุนกลมๆขนาดพอกดเต็มพิมพ์)
- ปั้นกันเป็นร้อยๆลูกใส่ถาดไว้
- ลูกที่เอามากดก่อนก็จะเต็มพิมพ์กดง่าย
- ลูกหลังๆก็จะแห้งและกดยากไม่เต็มพิมพ์
- ลูกที่ตำไม่ถึงก็จะเหนียวน้อยแตกราน
- ลูกที่ตำเหลวไปพิมพ์ก็จะบิดเบี้ยวเมื่อเนื้อแห้งแล้ว
- ลูกกระสุนที่แห้งนั้นเวลากดพิมพ์ หน้าจะไม่เต็ม หลังจะนูน เพราะกดไม่ลงเต็มพิมพ์ จึงผิดเพี้ยนกันไปในแต่ละองค์ทั้งที่พิมพ์เดียวกัน
- มวลสารครกเดียวกัน หลวงพ่อทวดเนื้อว่าน ๙๗ ทุกองค์จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
- กดแล้วก็นำผงแร่ทองน้อยมาแตะไว้ด้านหลัง จนมักเกิดลายมือที่กดแร่ลงไปในเนื้อพระ
- นำไม้ผิวไผ่บ้าง ก้านธูปบ้างมาแคะองค์พระออกจากพิมพ์
- นำพระที่กดแล้วไปผึ่งลมจนแห้ง
พระเก๊ก็แค่พลาสติกอัดแต่งผิวหยาบๆ
เท่านั้นเอง…
อิอิอิอิอิอิอิ